คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์การสอบปลายภาค*


วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันมาฆบูชา*






วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้ไปพาพี่ปี 4 ไปทำกิจกรรมอาสาพัฒนาโรงเรียนที่


จ. สุราษฏร์ธานี*


วันที่ 31 มกราคม 2557

*ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากได้ไปเข้าค่ายนันทนาการ ที่จ.สระบุรี แต่ได้คัดลอกเนื้อหาที่เรียนมาจาก น.ส.ประทานพร สภากาญจนาภรณ์*


เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมาย ถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้น ฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูด และ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมอง ได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
สิ่ง แวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือ กรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสาร อาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู


ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
มีความบกพร่องทางการพูด
มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
มีความบกพร่องทางการรับรู้
มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
มีอารมณ์ไม่คงที
โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน


การบกพร่องทางการอ่าน
จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน
ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์
เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง
อ่านคำโดยสลับตัวอักษร
ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน – หลัง
เด็กบางคนมีความไวในการฟัง
เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ
มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง เช่น การแยกแยะเสียง บ ป พ
มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ
การออกเสียงคำไม่ชัด หรือไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ
ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “ นาง” เป็นต้น
ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ
ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้
จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้


การบกพร่องทางการเขียน
ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้
เขียนประโยคตามครูไม่ได้
ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้
เรียงคำไม่ถูกต้อง
มี ความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เช่น เด็กจะลากเส้นวน ๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัว เข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ
เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา
มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน เช่น ค – ด , น – ม , พ – ผ , ๓ – ๗ , ๔ – ๕
เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก
เขียน เรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง เช่น “ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “ หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย”
เขียนไม่ได้ใจความ
เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด
เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนต่ำหรือเหนือเส้น ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ
จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก
ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต
การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์
มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน
ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น
ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป
ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง
ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์
ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้
ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ
มีปัญหาในการทำเลขโจทย์
ไม่ เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง เช่น จะไม่รู้ว่าเลข “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23 , 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบ วก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้
ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “ + แทน การบวก” “ - แทน
การลบ” “ X แทน การคูณ” และ “ ? แทน การหาร”

คำแนะนำแก่ครูและผู้ปกครอง
พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
แสดงความรักต่อเด็ก
มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
ยอมรับนับถือในตัวเด็ก ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดี ๆ ในตนเองเหมือนกัน
มีความคาดหวังที่เหมาะสม
เมื่อเด็กทำผิด เช่น เขียนผิด อ่านผิด จงอย่าบ่น ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
วันที่ 24 มกราคม 2557
เนื้อหาที่เรียน คือ
การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ฏที่มีความต้องการพิเศษ
Down's syndrome
-รักษาตามอาการ
-แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
-ให้เด็ฏสามารถช่วยเหลือตนเองได้ใช้ชีวิตประจำวันและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic approach) คือไม่ใช่เฉพาะครู ควมถึงคนอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล นักบำบัด
1.ด้านสุขภาพอนามัย บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามการรักษาเป็นระยะๆส่วนใหญ่เกี่ยวกับหัวใจ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา จัดทำ IEP
-ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกดำรงชีวิตประจำวัน
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งมดปากมดลูก และเต้านม
- การคุมกําเนิดและการทำหมัน
- การสอนเพศศึกษา - ตรวจโรคหัวใจ
 การปฏิบัติตนของพ่อแม่
-ยอมรับความจริงให้ได้
-เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน
-ใช้ความรักความอบอุ่น
-การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
- การควบคุมและการทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
-สามารถปรัยตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่สมหรือเรียนรวมได้
-ลดปัญหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น
Autistic
ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
-ควรส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม
การฝึกพูด
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีการพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
-ลดการใช้ภาษาที่้ไม่เหมาะสม
-ช่วยลกพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
-การสื่อสารความหมายทดแทน เป็นสื่อจากภาพ
การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-เน้นในเรื่องการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆที่ล่าช้าควบคู่กับพัฒนาการทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพื่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน 
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะทางสัมคม
-ให้เดก้สามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
-Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
-Risperidone / Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด พฤติกรรมซ้ำๆ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
-ยามนกบุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน(AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด(Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด(Music Therapy)
-การฝังเข็ม(Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์(Animal Therapy)
การปฏิบัติตนของพ่อแม่
-ลูกต้องพัฒนาได้
-เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
-หยุดไม่ได้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ควรหันหน้า่ปรึกษาคนในครอบครัว


วันที่ 17 มกราคม 2557

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมือง*



วันที่ 10 มกราคม 2557
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นการสอบชดเชยนอกตาราง*